สถิติ
เปิดเมื่อ9/06/2017
อัพเดท15/09/2017
ผู้เข้าชม3905
แสดงหน้า4460
สินค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




เมืองฟ้าแดดสงยาง

อ่าน 137 | ตอบ 0

เมืองฟ้าแดดสงยาง

 

วีดีโอสถานที่  https://www.youtube.com/watch?v=cgvb_bmU84Q

สถานที่ตั้ง บ้านก้อม ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติความเป็นมา

เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นเมืองในยุคโบราณ สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ประมาณ ๑,๔๐๐ ปีล่วงมาแล้ว มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น คนพื้นเมืองเรียก ฟ้าแดดสูงยาง ในบทวรรณกรรมท้องถิ่นเรียก ฟ้าแดดสงยาง เรียกตามชื่อบ้านเรียก บ้านเสมา ตามประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต เรียก โนนผึ่งแดดหรือโพนผึ่งแดด เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป

เมืองฟ้าแดดสงยาง มีพื้นที่ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ไร่ แผนผังเมืองเป็น วงรีมี มีคันดินล้อมรอบเป็นคูเมืองสองชั้นวัดโดยรอบมีความยาวประมาณ ๕ กิโลเมตร ขนาดผังเมืองยาว ๒,๐๐๐ เมตร กว้างประมาณ ๑,๓๕๐ เมตร ส่วนประตูเมืองไม่ทราบแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าอยู่ตรงคูเมืองทั้ง ๔ ทิศ ภายในบริเวณเมืองเก่ามีร่องรอยโบราณสถานอยู่หลายแห่ง

 

หลักฐานที่พบ

ร่องรอยของศาสนสถาน ๑๔ แห่ง ลักษณะของแผนผังศาสนสถานที่สร้างขึ้นตามคติในพุทธศาสนา เป็นศิลปกรรมแบบทวารวดี พระธาตุยาคู ใบเสมาหินทรายสีแดง ที่มีทั้งเป็นแท่งหินกลม เหลี่ยมและแผ่นศิลา ทั้งแบบแผ่นหินทรายเกลี้ยง แผ่นหินทรายสลักลวดลาย และมีจารึกตัวอักษรโบราณ ที่พบส่วนใหญ่ไม่มีลวดลาย ส่วนแผ่นที่มีลวดลายมักเป็นเสมารูปกลีบบัว จำหลักเป็นลายสถูปแบบทวารวดี ภาพสำคัญคือภาพจำหลักเรื่องราวพุทธประวัติ และมหานิบาติชาดกที่งดงามมาก ทำให้ทราบถึงคติความเชื่อความนิยม รวมถึงการแต่งกายและสถาปัตยกรรมเครื่องไม้ในสมัยนั้น เมืองฟ้าแดดสงยางจึงนับเป็นแหล่งเสมาหินใหญ่และสำคัญที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ซึ่งใบเสมาในจำนวนนี้กว่า ๑๓๐ แผ่น ที่กรมศิลปากรขึ้น

ทะเบียนไว้ ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินเผา เป็นงานอิทธิพลสกุลช่างฝีมือคุปตะ รุ่นหลัง อายุราว ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปี ลูกปัด เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา กล้องยาสูบดินเผาลวดลายอมราวดีก้านขดเป็นรูปตัวมังกร อายุ ๗,๐๐๐ ปี และที่น่าสนใจคือ กล้องยาสูบชนิดเดียวกันแต่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ อายุ ๕,๐๐๐-๖,๐๐๐ ปี เป็นเครื่องยืนยันว่ายุคโลหะของสุวรรณภูมิได้เริ่มขึ้นในบริเวณนี้ก่อนทุกๆ ที่ในโลก นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ปะปนอยู่ในหลุมขุดภายในบริเวณเมืองโบราณนี้ด้วย

 

เส้นทางเข้าสู่เมืองฟ้าแดงสงยาง

จากตัวจังหวัดไปตามเส้นทางหลวงสาย ๒๑๔ (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทางประมาณ ๑๙ กิโลกรัม

 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :